วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553
อมรรัตน์: Home Work 24 พ.ย. 2553
อมรรัตน์: Home Work 24 พ.ย. 2553: "ชื่อเรื่อง (Title)สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบุรี (สถาบัน) ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่น่..."
วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553
รูปแบบการนำเสนอภาพโฆษณา

1. การอุปมาทางการเห็น (Visual Metaphor)
เป็นการอุปมาเปรียบเทียบระหว่างรูปของเต้าเสียบไฟกับหมีแพนด้าซึ่งสื่อถึงทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานไฟฟ้าก็เป็นทรัพยากรธรรมชาติเช่นเดียวกัน ถ้าเรานำปลั๊กไฟไปเสียบกับเต้าเสียบก็เท่ากับเราใช้พลังงานไฟฟ้าและทรัพยากรธรรมธรรมชาติไปพร้อมกัน
2. การใช้ภาพเหนือจริง (Surrealism)

รูปภาพแสดงถึงขนาดสัดส่วนของฮิปโปที่มีหัวสองหัวซึ่งอยู่เหนือความเป็นจริง
3. การสร้างความผิดปกติจากของจริง (Violating Reality)

เป็นภาพของยีราฟซึ่งยืนกลับหัวมีความผิดปกติจากของจริง
4. การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (Morphing, Blending and Merging)

เป็นรูปของสิ่งสองสิ่งคือ กระต่ายกับขวดไวน์ ซึ่งของสองสิ่งนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่สามารถนำกระต่ายมาทำให้มีลักษณะคล้ายขวดไวน์ซึ่งดูแล้วก็น่าสนใจไปอีกแบบหนึ่งได้
5. การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย (Subjective Camera)

เป็นภาพแทนสายตาผู้ถ่ายคือทำให้เรารู้สึกว่ารถมอเตอร์ไซด์ที่เห็นอยู่เป็นรถที่เรากำลังขี่อยู่จริงๆ
6. การล้อเลียน (Visual Parodies)

เป็นภาพล้อเลียน มาริโอ้ซึ่งเป็นHero ในการ์ตูน แต่อีกภาพหนึ่งไม่ใช่มาริโอ้ แต่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งจะมีอะไรบางอย่างผิดแปลกไปจากเดิมหรือดูแปลกไปจากสิ่งที่เคยเห็น
7. ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ (Unusual Size)
เป็นภาพของขาซึ่งมีขนาดที่ไม่ปกติเพราะมีความยาวเท่ากับตึกหรืออาคารนั่นเอง
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
การเข้าฝึกงานต่อที่โรงพยาบาล


1. ชื่อเรื่อง (Title) PR โรงพยาบาล
2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T เป็นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐบาลที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ว่ามีการบริการเป็นอย่างไร น่าประทับใจมากน้อยแค่ไหน
2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T เป็นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐบาลที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ว่ามีการบริการเป็นอย่างไร น่าประทับใจมากน้อยแค่ไหน
จุดเด่น มีการบริการที่น่าประทับใจ
จุดด้อย ค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างแพง เครื่งมือเครื่องใช้ยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
1.เพื่อเป็นการกระตุ้นความมีศักยภาพของโรงพยาบาลให้มีมากขึ้น
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
1.เพื่อเป็นการกระตุ้นความมีศักยภาพของโรงพยาบาลให้มีมากขึ้น
2.เพื่อประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลให้เป็นที่รู้จัก
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target) เพศ : ชาย/ หญิง อายุระหว่าง 23 - 35 ปี กลุ่มคนทำงานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี สถานภาพ : โสด / สมรส
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target) เพศ : ชาย/ หญิง อายุระหว่าง 23 - 35 ปี กลุ่มคนทำงานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี สถานภาพ : โสด / สมรส

นิสัย : รักความสะอาด
รสนิยม : ชอบการบริการที่ประทับใจ

5. แนวความคิด (Concept) : บริการเหมือนคนในครอบครัว
6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support) เพราะจะทำให้ผู้ที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลมีความคุ้นเคยและเป็นกันเอง รวมทั้งรู้สึกอบอุ่นและมั่นใจกับการเข้ารับการบริการ

มั่น


ตื่นตัว
8. ผลตอบสนอง (Desired response)
วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
การวิเคราะห์งานโฆษณา



1. ชื่อเรื่อง (Title) การคิดนอกกรอบจากทุกสิ่ง
2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T เป็นที่อยู่หรือที่พักที่สร้างมาจากแนวความคิดที่คิดนอกกรอบ ที่มีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้ชายทะเล อยู่ใกล้กับสนามบิน เปรียบเสมือนแค่ก้าวเดียวเราก็สามารถไปถึงสถานที่นั้นๆได้อย่างง่ายดาย
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
1.เพื่อสร้างความแปลกใหม่หรือความแตกต่างจากแนวความคิดเดิมๆ
2.เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คนที่ต้องการหาที่อยู่ที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target) เพศ : ชาย/หญิง อายุระหว่าง 22 - 35 ปี สถานภาพ : โสด/สมรส
5. แนวความคิด (Concept) ความกล้า...ที่จะแตกต่าง
6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support) เหตุผลคือ เพราะที่อยู่ที่สร้างขึ้นมาในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกันการทำห้องที่มีบรรยากาศไม่เหมือนกับที่อื่นๆทั่วไปย่อมเป็นที่น่าสนใจของผู้ที่ต้องการเข้าพัก เนื่องจากมีให้เลือกได้หลากหลายว่าต้องการบรรยากาศหรือบริเวณแวดล้อมรอบๆที่พักเป็นอย่างไร ก็สามารถเลือกได้ตามต้องการ
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone) สุข สดใส สบาย
8. ผลตอบสนอง (Desired response) -
วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
แนวโน้มการนำเสนองานนิเทศศาสตร์
ผู้บริโภค' ยุคปัจจุบันและยุคอนาคตมีพฤติกรรมซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ แถมยังบริโภคสื่อหลากหลายสื่อในเวลาเดียวกัน และยังทำอะไรได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการวางแผนกลยุทธ์และสร้างความหนักใจให้กับนักการตลาด นักโฆษณา เจ้าของสินค้า ที่จะต้องทำการบ้านมากขึ้น เพื่อให้การวางแผนการใช้สื่อและใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดที่เข้าถึง ตรงเป้าหมาย และเกิดการสูญเสียที่น้อยที่สุด
การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้มีสื่อใหม่ หรือนิวมีเดีย (new madia) ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะพื้นที่ของนิวมีเดียทำให้สินค้าและบริการสามารถใกล้ชิดกับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่องทางการสื่อสารที่ทรงพลังในการสื่อสารกับ กลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
ขณะที่สื่อเดิม (old media) ก็ยังเป็นสื่อที่มีประโยชน์และสร้างโอกาสทางการตลาดอยู่เช่นเดิม โดยจะเห็นว่าผู้บริโภค บางกลุ่มยังนิยมบริโภคสื่อเดิมๆ อยู่เช่นกัน
'ซินโนเวต' บริษัทวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอายุ ตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป ใน 11 ประเทศในเอเชีย พบว่าผู้บริโภคยุคนี้รับสื่อเฉลี่ยวันละ 38 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าอาจดูทีวี 2 ชั่วโมง และในช่วง 2 ชั่วโมงที่ดูทีวีนั้นยังใช้อินเทอร์เน็ต 1 ชั่วโมง อ่านหนังสื่อพิมพ์ครึ่งชั่วโมง ขณะเดียวกันยังฟังวิทยุไปด้วย เป็นต้น
จากการวิจัยยังพบว่า ในฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย และไทย นั้น 'ทีวี' ยังเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพล มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงสูงที่สุด แต่คนดูทีวีทั้ง 4 ประเทศนี้มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน คือ รับสื่อและทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
นอกจากสื่อทีวีที่มีบทบาทสำคัญแล้ว สื่อที่มาแรงและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คือ อินเทอร์เน็ต โดยจะสังเกตเห็นว่านักการตลาดในปัจจุบันมัก นิยมใช้สื่อที่ผสมผสานระหว่างสื่อทีวีและ อินเทอร์เน็ตในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นขณะที่ 'อินนิทิเอทีฟ' บริษัท
วางแผนและซื้อสื่อโฆษณารายใหญ่ ชี้ให้เห็นเทรนด์ของการใช้สื่อว่า แน่นอน 'ทีวี' ยังถือเป็นสื่อหลักที่ทรงอิทธิพล
และสื่อที่มาแรงในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันมีค่อนข้างหลากหลาย คือ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ไปแล้ว
ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองไทยสูงถึง 15.0 ล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากร และมีจำนวนผู้ใช้ msn สูงถึง 4.25 ล้านยูสเซอร์/วัน มากเป็นอันดับ 9 ของโลก หากนับจำนวนข้อความที่ส่งถึงกันมีปริมาณมากถึง 120 ล้านข้อความ/วัน
ว่ากันว่า นอกจาก 'สื่อดิจิทัล' จะเข้ามาช่วยเติมเต็มสีสันให้กับชีวิตของผู้บริโภค ยุคใหม่แล้ว พลังของสื่อก็เป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม จากการทำสำรวจเกี่ยวกับ 'สื่อที่น่าเชื่อถือที่สุด' ในความเห็นของผู้บริโภคนั้น 81% บอกว่าเป็นการบอกต่อ หรือ word of mouth ซึ่งสื่อที่ทำให้เกิดการบอกต่อหลักๆ ประกอบด้วย เว็บไซต์, เว็บบอร์ด และอีเมล์
นอกจากนี้ ยังมีเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ซึ่งขยับตัวแรงมากในปี 2551 เนื่องจากกฎหมายปลดล็อกให้เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมมีโฆษณาได้ ส่งผลให้มีผู้ผลิตคอนเทนต์หันมากระโจนเข้าใส่ธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ให้บริการแล้วประมาณ 40 ช่อง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ช่องในปีหน้า
เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมมีจุดเด่นในเรื่องเซ็กเมนเตชั่นที่ชัดเจนกว่าฟรีทีวี ขณะที่อัตราค่าโฆษณาถูกกว่ากันมากชนิดใกล้เคียงกับโฆษณาสื่อวิทยุ และชนิดหายใจ รดต้นคอ
เรียกว่า หากใช้กลยุทธ์ถูกที่ ถูกเวลา ย่อมประหยัดและคุ้มค่ากว่าการใช้ฟรีทีวี
เช่นเดียวกับ 'สเตฟานี เบลล์' ประธานกรรมการบริหาร 'มายด์แชร์' ภูมิภาคอินโดจีนและฟิลิปปินส์ ชี้เทรนด์ของการใช้สื่อในปีหน้าว่า สื่อทีวีจะยังคงเป็นสื่อหลัก และเป็นสื่อที่จำเป็นในการทำการตลาดโดยเฉพาะรายการทีวีในช่วงไพรมไทม์และรายการที่อยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างไพรมไทม์และน็อนไพรมไทม์
สื่อใหม่ก็น่าจะเป็นอีกแขนงหนึ่งที่มีโอกาสในการขยายตัวได้สูง โดยเฉพาะ 'ดิจิทัลมีเดีย' และ 'โมบายมีเดีย' เนื่องจากเป็นสื่อใหม่ที่มีระบบการวัดผลที่ชัดเจน แถมยังเป็นสื่อที่มีต้นทุนถูกและสามารถโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน
ส่วนเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมนั้นเป็นอีกสื่อหนึ่งที่มีศักยภาพในการเติบโต รวมถึงการโฆษณาแบบแบนเนอร์ก็เช่นเดียวกัน

ตัวอย่างการโฆษณาแบบแบนเนอร์
ต้องอาศัยความสวยงามของภาพกราฟฟิก ภาพประกอบ พื้นหลังที่สวยงาม ใช้สีสันที่ดึงดูดใจ
พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการวางแผนกลยุทธ์และสร้างความหนักใจให้กับนักการตลาด นักโฆษณา เจ้าของสินค้า ที่จะต้องทำการบ้านมากขึ้น เพื่อให้การวางแผนการใช้สื่อและใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดที่เข้าถึง ตรงเป้าหมาย และเกิดการสูญเสียที่น้อยที่สุด
การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้มีสื่อใหม่ หรือนิวมีเดีย (new madia) ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะพื้นที่ของนิวมีเดียทำให้สินค้าและบริการสามารถใกล้ชิดกับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่องทางการสื่อสารที่ทรงพลังในการสื่อสารกับ กลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
ขณะที่สื่อเดิม (old media) ก็ยังเป็นสื่อที่มีประโยชน์และสร้างโอกาสทางการตลาดอยู่เช่นเดิม โดยจะเห็นว่าผู้บริโภค บางกลุ่มยังนิยมบริโภคสื่อเดิมๆ อยู่เช่นกัน
'ซินโนเวต' บริษัทวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอายุ ตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป ใน 11 ประเทศในเอเชีย พบว่าผู้บริโภคยุคนี้รับสื่อเฉลี่ยวันละ 38 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าอาจดูทีวี 2 ชั่วโมง และในช่วง 2 ชั่วโมงที่ดูทีวีนั้นยังใช้อินเทอร์เน็ต 1 ชั่วโมง อ่านหนังสื่อพิมพ์ครึ่งชั่วโมง ขณะเดียวกันยังฟังวิทยุไปด้วย เป็นต้น
จากการวิจัยยังพบว่า ในฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย และไทย นั้น 'ทีวี' ยังเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพล มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงสูงที่สุด แต่คนดูทีวีทั้ง 4 ประเทศนี้มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน คือ รับสื่อและทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
นอกจากสื่อทีวีที่มีบทบาทสำคัญแล้ว สื่อที่มาแรงและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คือ อินเทอร์เน็ต โดยจะสังเกตเห็นว่านักการตลาดในปัจจุบันมัก นิยมใช้สื่อที่ผสมผสานระหว่างสื่อทีวีและ อินเทอร์เน็ตในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นขณะที่ 'อินนิทิเอทีฟ' บริษัท
วางแผนและซื้อสื่อโฆษณารายใหญ่ ชี้ให้เห็นเทรนด์ของการใช้สื่อว่า แน่นอน 'ทีวี' ยังถือเป็นสื่อหลักที่ทรงอิทธิพล
และสื่อที่มาแรงในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันมีค่อนข้างหลากหลาย คือ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ไปแล้ว
ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองไทยสูงถึง 15.0 ล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากร และมีจำนวนผู้ใช้ msn สูงถึง 4.25 ล้านยูสเซอร์/วัน มากเป็นอันดับ 9 ของโลก หากนับจำนวนข้อความที่ส่งถึงกันมีปริมาณมากถึง 120 ล้านข้อความ/วัน
ว่ากันว่า นอกจาก 'สื่อดิจิทัล' จะเข้ามาช่วยเติมเต็มสีสันให้กับชีวิตของผู้บริโภค ยุคใหม่แล้ว พลังของสื่อก็เป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม จากการทำสำรวจเกี่ยวกับ 'สื่อที่น่าเชื่อถือที่สุด' ในความเห็นของผู้บริโภคนั้น 81% บอกว่าเป็นการบอกต่อ หรือ word of mouth ซึ่งสื่อที่ทำให้เกิดการบอกต่อหลักๆ ประกอบด้วย เว็บไซต์, เว็บบอร์ด และอีเมล์
นอกจากนี้ ยังมีเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ซึ่งขยับตัวแรงมากในปี 2551 เนื่องจากกฎหมายปลดล็อกให้เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมมีโฆษณาได้ ส่งผลให้มีผู้ผลิตคอนเทนต์หันมากระโจนเข้าใส่ธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ให้บริการแล้วประมาณ 40 ช่อง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ช่องในปีหน้า
เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมมีจุดเด่นในเรื่องเซ็กเมนเตชั่นที่ชัดเจนกว่าฟรีทีวี ขณะที่อัตราค่าโฆษณาถูกกว่ากันมากชนิดใกล้เคียงกับโฆษณาสื่อวิทยุ และชนิดหายใจ รดต้นคอ
เรียกว่า หากใช้กลยุทธ์ถูกที่ ถูกเวลา ย่อมประหยัดและคุ้มค่ากว่าการใช้ฟรีทีวี
เช่นเดียวกับ 'สเตฟานี เบลล์' ประธานกรรมการบริหาร 'มายด์แชร์' ภูมิภาคอินโดจีนและฟิลิปปินส์ ชี้เทรนด์ของการใช้สื่อในปีหน้าว่า สื่อทีวีจะยังคงเป็นสื่อหลัก และเป็นสื่อที่จำเป็นในการทำการตลาดโดยเฉพาะรายการทีวีในช่วงไพรมไทม์และรายการที่อยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างไพรมไทม์และน็อนไพรมไทม์
สื่อใหม่ก็น่าจะเป็นอีกแขนงหนึ่งที่มีโอกาสในการขยายตัวได้สูง โดยเฉพาะ 'ดิจิทัลมีเดีย' และ 'โมบายมีเดีย' เนื่องจากเป็นสื่อใหม่ที่มีระบบการวัดผลที่ชัดเจน แถมยังเป็นสื่อที่มีต้นทุนถูกและสามารถโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน
ส่วนเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมนั้นเป็นอีกสื่อหนึ่งที่มีศักยภาพในการเติบโต รวมถึงการโฆษณาแบบแบนเนอร์ก็เช่นเดียวกัน

ตัวอย่างการโฆษณาแบบแบนเนอร์
ต้องอาศัยความสวยงามของภาพกราฟฟิก ภาพประกอบ พื้นหลังที่สวยงาม ใช้สีสันที่ดึงดูดใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)